บักเคนทะลุมิติ ภาค 1 (ตอนที่ 177)
by admin · สิงหาคม 26, 2020

บักเคนทะลุมิติ ภาค 1 (ตอนที่ 177)
“ยินดีได้รู้จักค่ะท่าน” เฟาเรสได้เอ่ยปากทักทาย
“นี่คุณอาดัม” นโปเลียนได้กล่าวแนะนำ “ยินดีได้รู้จักครับมาดาม”
หลังจากพูดคุยสักพักใหญ่ “วันนี้ผมจะนำพวกเราไปเที่ยวชมวิถีชีวิตคนไคโร” นโปเลียนบอกกับทุกคน
“พวกเรานั่งรถคันเดียวกันกับผมได้เลย” นโปเลียนบอกกับทุกคน
รัสตัมยังคงเป็นสารถีขับรถม้านำนโปเลียนไปท่องเที่ยวในตลาดเมืองไคโร หลังจากออกจากจวนไม่นาน ร้อยโทลูคัสได้นำหน่วยทหารม้า 50 นายมาอารักขารถม้าของนโปเลียนมุ่งสู่ตลาดเมืองไคโร เศษสิ่งของทิ้งเกลื่อนกลาดเต็มถนน บริเวณถนนมีแต่ความสกปรก เด็กๆ วิ่งเล่นส่งเสียงเอะอะดังสลับกับฝูงอูฐเดินเป็นแถวกองคาราวานนำสินค้ามาขายที่ตลาด อูฐหลายตัวได้ฉี่รดบนถนน สลับกับฝูงควายน้ำของชาวบ้านที่เดินออกไปทำนาริมฝั่งแม่น้ำไนล์ฝูงแพะเดินเล็มใบพุ่มไม้เตี้ยๆ ข้างถนน ฝูงควายน้ำทิ้งขี้กองใหญ่ มันช่างเป็นบรรยากาศที่ตลบอบอวลด้วยกลิ่นฉี่อูฐ ขี้ควาย ขี้แพะ เฟาเรสถึงกับเอามืออุดจมูก
“โอ ตลาดเช้าทำไมถึงมีกลิ่นรุนแรงขนาดนี้ มีแต่ความสกปรก ” นี่มันเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านทั่วไป ที่หาเช้ากินค่ำ ไม่ได้แตกต่างจากฝรั่งเศส หรือประเทศในยุโรป อังกฤษ อิตาลี ปรัสเซีย เยอรมัน ความยุติธรรม ความเท่าเทียมกัน เสรีภาพไม่มีในสังคมคนจน พวกขุนนาง เจ้าของที่ดิน อัศวิน นักบวชจะมีอภิสิทธิมากกว่าคนเหล่านี้ พระจะมีสิทธิเก็บภาษีอากร ตามเขตการปกครอง ใช้ชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือย” อาดัมได้อธิบายให้เฟาเรสได้เข้าใจถึงชีวิตในอังกฤษ ส่วนในฝรั่งเศส บริเวณสลัมมีแต่ความสกปรก หนูวิ่งไปมา คนยากจนต้องอยู่ด้วยความแออัด ผมไปดูที่เมืองลอนดอนก็ไม่แตกต่างกัน”
“เพราะอะไรคนจนถึงต้องมาอาศัยอยู่ในเมือง ไม่อยู่ในชนบท” บักเคนถามด้วยความสงสัย
“คุณเคนต้องเข้าใจครอบครัวมีลูกกันหลายคนต้องแบ่งที่ดินให้ลูกทุกคน เมื่อที่ดินมีจำนวนจำกัด เมื่อแบ่งที่ดินทำกินที่ดินต้องลดลง เมื่อลูกมีออกลูกออกหลานที่ดินที่มีจำนวนน้อยก็ต้องลดสัดส่วนลง ถึงรุ่นหลาน เหลน อาจจะไม่มีที่ดินเหลืออยู่พอให้แบ่งลูก หลานที่ไม่มีที่ดินทำกิน ต้องอพยพไปหางานทำในเมือง เลยการเป็นคนเมืองที่ต้องอาศัยอยู่อย่างแออัด” อาดัมอธิบายให้บักเคนเข้าใจ
“แล้วทำไมลูกหลานที่ไม่มีที่ดินทำกินถึงไม่บุกเบิกที่ดินใหม่ละครับ”
“พูดง่ายมันทำยาก เพราะที่ดินส่วนใหญ่เป็นของขุนนาง เชื้อพระวงศ์ นักบวช ที่ดินมีจำนวนจำกัด ถึงต้องมีคนอพยพไปอยู่ยัง ยังโลกใหม่ ไปขุดทอง ทำไร่อ้อยลาตินอเมริกา ไปบุกเบิกที่อเมริกา ไปอัฟริกาเพื่อขยายดินแดน” อาดัมอธิบายให้ บักเคนเข้าใจ
“อ๋อ ผมเข้าใจละ แล้วการลุกฮือของชาวนา คนยากจนในฝรั่งเศสที่ผมเคยไปร่วม ก็เป็นชาวนาที่ไม่มีที่ดินทำกิน ที่อาศัยอยู่ในเมือง ใช่ไหม บางคนเป็นแม่ค้าตลาดค้าปลา”
“ใช่คุณเคน ชาวนาที่แท้จริง ที่มีที่ดินทำกินไม่ค่อยก่อการปฏิวัติ คนที่ได้รับผลกระทบคือ นักบวช ชนชั้นนายทุนมากกว่า”
ส่วนชาวนาทั่วไปในชนบทไม่ได้รับความยากลำบากถ้าเป็นเจ้าของที่ดินตนเอง มีข้าวต้ม ขนมปัง เบียร์ ไวน์ให้ดื่มทุกวัน มีเนื้อตากแห้ง ผลไม้ในสวน เป็ด ไก่ นกพิราบ ห่าน มีน้ำผึ้งป่า มีโรงอาบน้ำสาธารณะให้อาบทุกวัน มีความสะอาดไม่แตกต่างจากคนรวย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ผมพบเห็นได้แก่ชาวนา หรือทาสที่ไม่ที่ดินทำกินต้องอาศัยเจ้าของที่ดิน คนเหล่านี่น่าสงสารมาก เป็นคนชั้นล่างสุด อาศัยอยู่อย่างแออัดในเมืองใหญ่
“แสดงว่าชาวนาที่มีที่ดิน ไม่ได้รับผลกระทบมาก ใช่ไหม”
“ก็ถูก แต่ถูกไม่หมด เพราะชาวนาต้องเสียภาษีให้ศาสนาจักร และขุนนาง ถ้าปีไหนเกิดความแห้งแล้ง ก็จะมีปัญหา ไม่สามารถเสียภาษีได้ แต่รัฐยังไปเรียกเก็บภาษีอีก ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจ คนที่ลำบากที่สุด คือคนที่เช่านาเจ้าของที่ดิน ชนชั้นนายทุน ถูกเกณฑ์แรงงานถูกขูดรีดภาษี อาหารแทบจะไม่มีทาน อย่างที่คุณเคนเห็นภาพในฝรั่งเศส”
นโปเลียนนั่งในรถได้ฟังคำอธิบายของอาดัม เลยเกิดความทึ่ง ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสในช่วงการปฏิวัติ
“แล้วปัญหาเกิดขึ้นทั่วไปในยุโรปไหมครับอาดัม” บักเคนสอบถามด้วยความสงสัย บักเคนทำตัวเป็นหนูน้อยจำไมในการตูนส์อิคิวซังที่โด่งดัง
“เกิดขึ้นในยุโรปทั้งหมด เพราะคนปกครองที่แท้จริง คือระบบขุนนาง เจ้าของที่ดิน หรือที่เรียกว่า ชนชั้นกระฏุมพี นักบวชจะมีอภิสิทธิมากกว่าคนทั่วไป” อาดัมพยายามอธิบายให้บักเคนเข้าใจ
“แล้วทำไมไม่มีคนแก้ความเท่าเทียมเหล่านี้” บักเคนถามต่อ
“ใครละจะเป็นคนแก้ เพราะคนที่เรียกร้องความไม่เท่าเทียมเมื่อตนเองอยู่ในตำแหน่งเหล่านั้น ที่ให้คุณให้โทษ แสวงหาผลประโยชน์ได้ เขาจะแก้ทำไม คุณเคนต้องเข้าใจสังคมนะครับ สังคมต้องประกอบด้วยคนรวยกับคนจน ถ้าสังคมมีแต่คนรวย ไม่มีคนจนใครจะทำงานให้เรา ถ้าสังคมมีแต่คนจน คือจนเท่าเทียมกัน มันคือสังคมยุคแรกเริ่ม แต่ยุคนี้มีสิ่งของหลากหลาย ที่คนต้องการอยากได้เป็นเจ้าของ มันเลยเกิดระบบเศรษฐกิจขึ้นมา ที่เราเรียกว่าระบบเศรษฐกิจแบบนายทุน”
“แล้วทำไมไม่ทำให้ให้ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยไม่แตกต่างกันมาก”
“มันอยาก คุณเคน มันต้องปฏิวัติ ต้องให้ทรัพย์สินตกเป็นของรัฐทั้งหมด ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เป็นการต่อสู้ระหว่างชนชั้น โดยนับต้องแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน เช่น ทาสกับเจ้าของที่ดิน นายจ้างกับลูกจ้าง โดยจะมีคนหนึ่งเป็นผู้ข่มเหง และอีกคนหนึ่งเป็นผู้ถูกข่มเหง นายทุนมีบทบาทในสังคมมาก นายทุนเอาเปรียบชนชั้นแรงงานทุกวิถีทาง อำนาจของนายทุนคืออำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยกษัตริย์และผู้ปกครองก็อยู่ภายใต้อิทธิพลนายทุนด้วย พวกนายทุนทั้งหลายมักเรียกร้องเสรีภาพ เช่น การค้าขายอย่างเสรี การแข่งขันเสรี แต่แท้จริงแล้วเป็นการเรียกร้องให้ตัวเองเอาเปรียบผู้อื่น ผมมองว่า นายทุนส่วนใหญ่เป็นพวกไร้ศีลธรรม มองเห็นความสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นเพียงการสะสมเงินทอง ส่วนคุณค่าทางจิตใจ ความเมตตาปรานีหรือมนุษยธรรมแทบจะไม่มีอยู่ในสำนึกของนายทุน” บักเคนฟังคำอธิบายของอาดัม บักเคนนึกถึงแนวคิดของ คาร์ลมาร์ก ที่เกิดขึ้นหลังจากนี้อีกหลายสิบปี
อาดัมอธิบายให้ทุกคนฟังต่อไปว่า “ชนชั้นกรรมาชีพจะชนะนายทุนในที่สุด ในตอนแรกสังคมอาจมีหลายชนชั้น แต่สุดท้ายจะเหลือเพียง นายทุน และกรรมาชีพ ซึ่งจะถูกนายทุนข่มเหงตลอดเวลา จนต้องรวมตัวเป็นสหภาพกรรมกร และกลายมาเป็นพรรคการเมือง จนมีอำนาจเอาชนะนายทุนได้ ต้องยึดทรัพย์สินส่วนตัวของนายทุน เพราะสิ่งนี้คือ สัญลักษณ์แห่งความเห็นแก่ตัว ของนายทุน