บักเคนทะลุมิติ ภาค 1 (ตอนที่ 001)

บักเคนทะลุมิติ ภาค 1 (ตอนที่ 1)

บักเคน ชาวนาอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี เคยตามญาติไปทำงานร้านอาหารที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อหลายปีก่อน หลังจากจากบ้านไปนานก็ชักคิดถึงบ้านเกิด คิดถึงข้าวเหนียว ก้อยกะปอม เลยบอกญาติว่าจะขอกลับอุบลไปอยู่กับพ่อกับแม่ ไปทำไร่ทำนาตามบรรพบุรุษที่ทำนามาแต่ตั้งเดิม บักเคนใช้ชีวิตอยู่เมืองนอกมานานหลายปี สนใจ

ในการเมืองในสหภาพยุโรป รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในยุโรป โดยเฉพาะที่ฝรั่งเศสที่เป็น ต้นกำเนิดของการปฏิวัติโดยประชาชน การต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมในสังคม พอกลับมาถึงเมืองไทย บักเคนได้ติดตามข่าวสารบ้านเมืองไทยโดยตลอด

          บ่ายวันที่ 22 พฤศจิกายน อากาศร้อนอบอ้าว เหมือนฝนจะตก   บักเคนเกี่ยวข้าวอยู่ในนาคนเดียว รู้สึกเหนื่อยเลยไปพักใต้ต้นตาล ฟ้าสว่างพลันมืดคลึ้ม ทันใดนั้นฝนก็ตกอย่างหนัก เกิดฟ้าผ่า  อย่างรุนแรงใส่ต้นตาลที่บักเคนนั่งอยู่ บักเคนถึงกับสลบ และหายวับไปเหลือแต่ต้นตาล เมื่อลืมตาตื่นขึ้นมา บักเคนมองไปรอบ ๆ งุนงงในภาพที่ไม่เคยเห็นมาก่อน มันไม่ใช่นาที่ตนนั่งพัก                    เมื่อยามบ่าย แต่เป็นไร่องุ่นสุดลูกหูลูกตา สายลมเย็นพัดเอื่อย ๆ  ดอกแดฟโฟดิว สีเหลืองบานสะพรั่งอยู่ริมทาง

          “มันที่ไหนกันหว่า เหมือนกับฝรั่งเศส ฝันไปหรือเปล่า เมื่อกี้ฟ้าผ่าต้นตาล รู้สึกว่าตนเองจะถูกฟ้าผ่าเข้าอย่างจัง หรือว่าตายแล้ว”  บักเคนรำพึงกับตนเอง ลองกัดริมฝีปากดู ก็รู้สึกเจ็บ ก็รู้ว่าตนเอง  ยังไม่ตาย

          “อยู่ที่ไหนกันเนี่ย งงโว้ย สวรรค์ก็ไม่ใช่ เมื่อยังไม่ตาย บักเคนเหลียวมองไปรอบ ๆ ตัว และเห็นชายคนหนึ่งเป็นฝรั่งกำลังเดิน   ผ่านมา

         บักเคนได้ถามฝรั่ง “หยุดก่อนท่าน มันที่ไหนกันครับ” ชายที่กำลังเดินมาก็หยุดและตอบบักเคน “ชานกรุงปารีส แล้วคุณเป็นใคร ถึงแต่งตัวแบบนี้ เป็นชาวอะไร”  บักเคน ได้กล่าวตอบ “ผมเป็นคนไทย”  ฝรั่งทำสีหน้างง และบอกว่าไม่รู้จักประเทศไทย “ประเทศไทยมันอยู่ที่ไหนในโลก ไม่เคยได้ยินมาก่อน”

         บักเคนนึกในใจ ฝรั่งคนนี้โง่วะ ประเทศไทยก็ไม่รู้จัก เลยตอบไป “ประเทศไทย หรือสยาม” ฝรั่งร้องอ๋อ และตอบบักเคน “เคยได้ยินสยาม แต่ไม่เคยได้ยินประเทศไทย กษัตริย์เราได้มีไมตรีกับประเทศสยาม ท่านมาที่นี่ได้อย่างไร ทำไมถึงพูดภาษาฝรั่งเศสได้ ท่านเรียนภาษาฝรั่งเศสกับบาทหลวงที่เมืองสยามใช่ไหม” ฝรั่งรัวคำถามบักเคนหลายคำถาม

        บักเคนก็เลยตอบไปว่า “เดี๋ยวจะเล่าเหตุการณ์ที่ตนเองถูกฟ้าผ่าขณะนั่งพักใต้ต้นตาลให้ฝรั่งฟัง

“โอ้พระเจ้า” ฝรั่งร้องอุทานทำสีหน้างุนงงท่านมาได้อย่างไร

        บักเคนก็ถือโอกาสถามฝรั่ง “ที่นี่เป็นประเทศฝรั่งเศสทำไมบ้านเมืองมันโบราณจังไม่เห็นเหมือนฝรั่งเศสเลย”

          ฝรั่งได้ตอบ “อ๋อ บ้านเมืองไม่โบราณนะก็เป็นอย่างงี้ตั้งแต่ ข้าเกิด ทำไมท่านถึงว่าโบราณลองเล่าเรื่องของท่านให้ฟังซิ ทำไมพูดภาษาฝรั่งเศสได้”

          บักเคนได้ตอบ “ก็เคยมาอยู่ฝรั่งเศสมาขายลาบขายก้อย อยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำแซนต์หลายปี แต่บ้านเมืองไม่เป็นอย่างงี้ตึกแถวเสาโทรศัพท์มือถือเรียงรายตามทุ่ง” แต่ที่นี่ไม่เห็นมีอะไร แปลกจัง

        บักเคนเลยถาม ฝรั่ง “ท่านชื่ออะไร”

        ฝรั่งได้ตอบ ข้าเหรอ ชื่อข้าเรียกเต็มก็ ชาลส์ ลูอี เดอ เชอกงดา ผู้เป็นบารงแห่งแบรดและมงเตสกิเออ หรือเรียกสั้นก็ให้เรียก มงเตสกิเออ”

         บักเคนอุทานขึ้น “อะไรนะ ท่านชื่อมงเตสกิเออเหรอ กูท่าจะบ้าไปแล้วมั้ง” บักเคนรำพึงบักเคนเลยถามซ้ำ “ท่านชื่ออะไรนะ”  “มงเตสกิเออ” ทุกคนก็เรียกข้ามงเตสกิเออ ข้าได้บรรดาศักดิ์จากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มันแปลกตรงไหน”

         ไม่แปลกหรอกท่าน แต่ข้านะแปลก เพราะข้าถูกฟ้าผ่า ได้ทะลุมิติมาพบผ่านในโลกอดีต ข้าอยู่สยามใน ซึ่งเป็นโลกอนาคต” บักเคนกล่าวตอบ

         ถึงทีมงเตสกิเออ ทำสีหน้างุนงงบ้าง และส่ายหน้าไม่เข้าใจ ช่างมันเหอะ จะอดีตหรืออนาคตก็ช่างมัน ดีใจได้พบท่านที่เป็นมิตรจากต่างแดนเมอซิเออร์เคน มีอะไรจะให้ข้าช่วยเหลือบ้าง เดี๋ยวไปพักที่บ้านข้าก่อน แล้วค่อยคุยกัน

        “ผมก็ดีใจที่พบท่านมงเตสกิเออ ไม่นึกว่าเวลาจะย้อนให้ผมได้มาพบท่าน มีคำถามมากมายเกี่ยวกับการเมืองที่ผมไม่เข้าใจลึกซึ้ง ก็จะได้ขอความรู้จากท่าน ที่ประเทศไทยยกย่องท่านเป็นผู้รู้          ทางการเมือง การปกครอง” บักเคนกล่าวขึ้น

              มงเตสกิเออก็กล่าวตอบ “ข้าก็ดีใจ ที่ได้รู้จักเพื่อนใหม่ บ้านข้าอยู่ไม่ไกล ห่างจากไร่องุ่นเดินสักพักก็ถึง ข้ายินดีที่เจ้าพักที่บ้านข้า”

          ที่ปราสาทของมงเตสกิเออ ท่ามกลางทุ่งหญ้าเขียวขจี สลับกับป่าไม้พุ่มเป็นฉากที่สวยงามลมโชยพัดกลิ่นดอกลาเวนเดอร์มาตามสายลม ช่วยทำให้บักเคนรู้สึกสดชื่นและทำใจได้ที่ทะลุมิติย้อนยุคไปสู่ประเทศ ฝรั่งเศส หลังจากมงเตสกิเออนำบักเคนเข้าพักที่ปราสาท และตอนเย็นก็ทานอาหารเย็นพร้อมกับดื่มไวน์ท่ามกลางแสงเทียนวับ ๆ แวม ๆ เมื่อมองประเทศไทยก็ย้อนกาลเวลาไปในช่วงสมัย กรุงศรีอยุธยา ช่วงรอยต่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกับพระเพทราชามีความวุ่นวายกับการแย่งชิงราชบัลลังก์ในกรุงศรีอยุธยาและลพบุรี

          มงเตสกิเออได้สอบถามสภาพประเทศไทย และสนทนาปัญหาบ้านเมืองของประเทศไทยเพราะตนเองไม่เคยรับรู้ว่าประเทศไทย หรือสยามปกครองด้วยระบอบอะไร บักเคนเลยถือโอกาสเล่าเรื่องการเมืองที่ตนสนใจและติดตามโดยตลอดให้มงเตสกิเออฟังว่า

          “สภาพความเป็นไปของการเมืองไทยในยุคที่ตนจากมา ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด มีการแบ่งอำนาจการปกครองออกเป็น อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ อย่างชัดเจน และภาพความขัดแย้งในเมืองไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ถึงปี พ.ศ. 2556”

        มงเตสกิเออร์ได้ตอบบักเคนว่า “อืมส์น่าสนใจมาก”

       ไหน ๆ ก็มีโอกาสมาทานข้าวเย็นร่วมกับท่าน บักเคนได้ถามมงเตสกิเออร์ 

        “ผมขอถามอะไรหน่อยท่านมงเตสกิเออถึงเรื่องแนวคิดเรื่องอำนาจการปกครองเป็นอย่างไร”

มงเตสกิเออ ได้ตอบว่า

       “ได้ซิข้าจะอธิบายให้ฟัง อำนาจการปกครองนั้นต้องประกอบไปด้วยอำนาจสามฝ่ายที่ต้องถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ประกอบด้วยประการที่หนึ่ง อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจเกี่ยวกับการวางระเบียบบังคับทั่วไปในรัฐ ส่วนอำนาจที่สองคือ อำนาจปฏิบัติการ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน คือ อำนาจในการใช้ หรือบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือเป็นอำนาจฝ่ายบริหารในโลกของคุณ เมอซิเออร์ เคน”

        มงเตสกิเออได้อธิบายต่อ “นอกจากนี้ ก็ยังรวมถึงอำนาจปฏิบัติการต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมาย คือ อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยคดี (อำนาจตุลาการ) แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในเรื่องของอำนาจนั้น เมื่อใดคนหรือหน่วยงานเป็นผู้ใช้อำนาจทั้งสามร่วมกัน อิสรภาพย่อมไม่อาจมีได้ เพราะจะเกิดความหวาดกลัวขึ้นในสังคม”

          บักเคนได้กล่าวตอบ “ใช่ครับท่านมงเตสกิเออ ในสมัยหนึ่งที่ประเทศไทยของผม จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็เคยมีการใช้อำนาจทั้งสามที่ท่านกล่าวมา ทั้งอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ รวมอยู่ที่คนคนเดียวโดยใช้ผ่านมาตรา 17 สามารถประหารชีวิตด้วยการออกคำสั่งของคนคนเดียวเหมือนกับยุคของท่าน”

          ก่อนที่ผมจะมาพบท่าน ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำพิพากษาเพื่อให้ยกเลิกสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และให้มีวุฒิสภา จำนวน 200 คน ที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จะทำได้หรือไม่ครับท่าน” บักเคนได้ถามท่าน มงเตสกิเออ

           มงเตสกิเออได้ตอบคำถามบักเคน “ฟังนะคุณเคน ตามหลักการปกครองที่ถูกต้องแล้ว อำนาจทั้งสามต้องถ่วงดุลกัน การที่อำนาจหนึ่งอำนาจใดจะไปก้าวก่ายอำนาจหนึ่งนั้นเป็นสิ่งที่ ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง เพราะจะไม่มีการค้านอำนาจกัน ดังนั้น ศาลจะไปก้าวก่ายงานของฝ่ายนิติบัญญัตินั้นจึงทำไม่ได้     คุณเคน คุณต้องเข้าใจก่อนว่าศาล จะนึกว่าศาลอยู่เหนือองค์กรอื่น ๆได้ เป็นความเข้าใจผิด เพราะทั้ง 3 องค์กรจะต้องถ่วงดุลกันมีสถานะในการใช้อำนาจเท่าเทียมกันแตกต่างในบทบาทที่ต่างกัน เช่นเดียวกับ ศาล รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็น ศาลพิเศษ ที่มีในประเทศสยาม ก็มีอำนาจเฉพาะตามที่ รัฐธรรมนูญ มอบอำนาจให้เท่านั้น ศาลไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะไปคิดเอาเองจะไปขยายอำนาจของตนเองไม่ได้ เพราะถ้าศาลทำแบบนั้น เท่ากับศาล เขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้เป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจของประชาชน แต่เป็นอำนาจศาลที่จะร่างรัฐธรรมนูญด้วยตัวเอง ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัย ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ”

         บักเคนได้ฟังคำอธิบายของ มงเตสกิเออได้อธิบายถึงเนื้อหาสาระของกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันให้มงเตสกิเออฟังมงเตสกิเออได้ฟังบักเคนอธิบายจึงชี้หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ถูกต้องตามความคิดของตนว่า

           “หลักใหญ่ของกฎหมายรัฐธรรมนูญเรื่อง กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นั้น รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 กำหนดขั้นตอนการแก้ไขชัดเจน โดย สมาชิกรัฐสภา ใช้อำนาจ หน้าที่ ในฐานะ สมาชิกขององค์กรรัฐสภาโดยรวม ไม่ได้ทำในนามพรรคการเมืองหนึ่งใด และ มาตรา291 นี้ ไม่ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการเข้ามาตรวจสอบได้อย่างชัดเจน เพราะถ้าศาลรัฐธรรมนูญ เข้ามาตรวจสอบ “อนุมัติ” หรือ “ไม่อนุมัติ” การแก้ไข เท่ากับเป็นการใช้อำนาจ เหนือ รัฐธรรมนูญ ซึ่งแตกต่างกับการใช้อำนาจอย่างชัดแจ้งของศาล”

          มงเตสกิเออได้กล่าวต่อไปว่า “เท่าที่ฟังหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศสยามนั้นมีข้อห้าม 2 ข้อเท่านั้นที่ห้ามทำคือ ห้ามแก้ไขระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และห้ามเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ กรณีที่สอง ศาลรัฐธรรมนูญ อ้างว่าสมาชิกสภาผู้แทน และสมาชิกวุฒิสภา กระทำผิด มาตรา 68 เพราะเป็นการใช้สิทธิในการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการใช้คำแทนกันไม่ได้ ระหว่างสิทธิและเสรีภาพ (ตามมาตรา 6 และ อำนาจ และหน้าที่ (ตาม มาตรา 291)ผู้พิพากษาตัดสินคดีของประเทศสยามในกรณี วุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้งนั้น เป็นการใช้อำนาจ และหน้าที่ ที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ซึ่งแตกต่างจาก ส.ส. ที่มีสิทธิและเสรีภาพ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ต้องทำหน้าที่ ตามมาตรา 291 ระบุไว้อย่างชัดเจน และให้อำนาจในการแก้ไข ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า เป็นเรื่องที่ศาลไม่มีอำนาจในการพิจารณาตีความรัฐธรรมนูญและขยายอำนาจให้ตนเอง ไม่ยอมผูกพันตามตัวอักษรในกฎหมายรัฐธรรมนูญและเจตนารมณ์ของกฎหมาย”

          “มงเตสกิเออ อธิบายให้บักเคนได้เข้าใจถึงบทบาทการถ่วงดุลอำนาจ “พอจะเข้าใจไหม     คุณเคน”

          “เข้าใจครับท่าน” ฟังจากท่านอธิบายผมพอจะสรุปได้ว่า  การถ่วงดุลอำนาจขององค์กรทั้งสามไม่ได้ เป็นไปตามเจตน์จำนงของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ใช่ไหมครับท่าน อำนาจที่ท่านกล่าวมาข้างต้นยังมีอำนาจที่สี่อยู่เหนืออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ใช่ไหมครับท่านมงเตสกิเออ”

       “ใช่คุณเคน คุณจะกลับประเทศสยามทางเรือไหม จะมีเรือออกจากท่าเมืองมาเซย์ต้นเดือนหน้านี้” มงเตสกิเออถามบักเคน

        “ผมคงกลับอยุธยาไม่ได้ครับท่าน บ้านเมืองผมก็วุ่นวายกับศึกชิงบัลลังก์ยังไม่สงบ ยังมีความวุ่นวายในกรุงศรีอยุธยาอยู่ครับท่านและกลับไปผมก็ไม่รู้จะไปอยู่ไหน ขออาศัยอยู่กับท่านก่อน”               บักเคนกล่าวตอบ

       “ท่านรู้ได้อย่างไรเมอซิเออร์เคนว่าบ้านเมืองท่านวุ่นวาย”     มงเตสกิเออถามบักเคน

       “ก็พอทราบจากประวัติศาสตร์ครับ เราทราบประวัติศาสตร์ แต่ไม่สามารถแก้ไขประวัติศาสตร์ได้ครับ ก็ปล่อยให้มันเป็นไปแล้วแต่บุญแต่กรรมก็แล้วกัน แต่ก็ดีใจที่ได้สนทนากับท่านครับผมรู้สึกเพลีย อยากจะไปพักผ่อนก่อนนะครับ”

      ตามสบายเมอซิเออร์เคนพรุ่งนี้เราค่อยคุยกันต่อถึงเรื่องบ้านเมืองสยาม “ขอบคุณครับท่าน” บักเคนกล่าวขอบคุณและเดินขึ้นห้องพักบนปราสาทของ มงเตสกิเออ

You may also like...