บักเคนทะลุมิติ ภาค1 (ตอนที่ 4)

This is the heading

                บักเคนทะลุมิติ  ตอนที่  (4)

 

          รถม้าวิ่งไปเรื่อย ๆ ผ่านป่าสนสลับกับทุ่งนาในชนบทของฝรั่งเศส บักเคนมองเห็นทุ่งนา เริ่มคิดถึงบ้านดอนมดแดง หลังการเก็บเกี่ยวผืนนาจะแห้งแล้ง ก่อนหัวลมหนาวจะเริ่มพัดพา ปลาเริ่มสะสมไขมัน ปลาช่วงหน้าหนาวจะอร่อย ดังสุภาษิต ข้าวใหม่ปลามัน ชีวิตปล่อยให้มันเป็นไป รถม้าวิ่งไปเรื่อย ทำให้บักเคนเกิดความสงสัยในเรื่องดินฟ้าอากาศ ธรรมชาติ จะมีผลต่อความคิดของมนุษย์หรือไม่ จึงถามมงเตสกิเออในเรื่องของธรรมชาติ สภาพดินฟ้าอากาศ

          “ท่านมงเตสกิเออผมขอถามหน่อย ธรรมชาติ ดิน ฟ้า อากาศ  จะส่งผลต่อมนุษย์หรือไม่”

          มงเตสกิเออได้เล่าสภาพธรรมชาติให้บักเคนฟัง “คุณเคน  พลังแห่งธรรมชาตินะ โดยเฉพาะอุณหภูมิจะมีอิทธิพลต่อร่างกายของมนุษย์ มีอิทธิพลต่อจิตใจและกิเลสตัณหาต่าง ๆ ในที่อากาศร้อนมนุษย์จะอ่อนไหวต่อความพึงพอใจและมักมากในกามคุณมากกว่า ขี้ขลาด และเกียจคร้านมากกว่า ส่วนที่มีอากาศเย็นจะเป็นทิศทางตรงกันข้าม”

          “แล้วประเทศที่มีอากาศอบอุ่น ไม่ร้อนไม่หนาวเป็นอย่างไร เช่นเมืองไทย”

บักเคนได้ถามมงเตสกิเออ “สภาพอากาศปานกลางจะไม่ชัดเจนไปในทางใดทางหนึ่ง มีปัจจัยหลายสิ่งที่จะเป็นตัวกำหนด นอกจากนี้สภาพอากาศร้อน และเย็นยังมีผลต่อศีลธรรมแตกต่างกัน ความกล้าหาญ ความยุติธรรม ย่อมแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิอากาศไปด้วย สภาพอากาศมีความสัมพันธ์กับระบบทาสไม่ใช่อิสรภาพของมนุษย์ สภาพอากาศจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์”  คำตอบของมงเตสกิเออทำให้บักเคนถึงกับมึนงง

          “เป็นจั๋งได๋น๊อ อากาศกับสภาพจิตใจของมนุษย์”

          บักเคนรำพึงรำพันกับตัวเอง “ท่านมงเตสกิเออผมเข้าใจ  ถูกไหมครับท่าน ที่ว่าอากาศร้อนทำให้หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย อารมณ์แปรปรวนเพราะความร้อน ผมว่าท่านเข้าใจอากาศร้อน  ในความหมายท่านคือ ร้อนจัด จะทำให้เกียจคร้านทำงานเชื่องช้า  แต่ถ้าอากาศเย็นจะสบายจะทำงานได้ดี ใช่ไหมครับ” บักเคนถาม

มงเตสกิเออ

          “น่าจะใช่ ถ้าบ้านคุณเคนอากาศกำลังสบาย ไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัด สภาพธรรมชาติก็จะส่งผลต่อความคิดและวัฒนธรรม   ให้เป็นคนจิตใจอ่อนโยน ไม่ต้องต่อสู้กับธรรมชาติที่โหดร้าย เช่นในฝรั่งเศส ที่ธรรมชาติมีความหนาวในฤดูหนาวที่ทารุณ โดยเฉพาะลมมิสทราส ที่พวกเราเรียกว่า เลอ ว็อง ดูฟาดา (ลมบ้า ๆ บอ ๆ) พัดจากหุบเขาโรน ลงไปยังโพร วองซ์ กระแสลมที่รุนแรง  สร้างความหดหู่ให้กับคนฝรั่งเศส”

          คำตอบของมงเตสกิเออ ทำให้บักเคนพยายามนึกภาพลมหนาวบ้า ๆ บอ ๆ เป็นอย่างไร จะเหมือนกับลมหนาวที่เมืองอุบลฯ ไหม ลมหนาวฤดูเล่นว่าว นอนกองฟางสมัยเด็ก กินข้าวหลามใหม่หอมกรุ่น ผักสะเดาน้ำปลาหวาน ปลาดุกนาย่างมันเยิ้ม ข้าวเหนียวร้อน ๆ ทำให้บักเคนคิดอยากกลับบ้านแต่ไม่รู้จะกลับอย่างไร

          มงเตสกิเออได้กล่าวต่อไป “สภาพสังคมดั้งเดิมของมนุษย์หากไม่ป่าเถื่อนก็ดุร้าย ขึ้นอยู่กับมนุษย์ว่ายังคงเป็นนักล่า    หรือรวมตัวเป็นเผ่าเล็ก ๆ หรือสามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่   สร้างสังคมขึ้นมา ในฐานะสังคมเลี้ยงสัตว์ การจัดการรวมตัวของคนสังคมอย่างหลวม ๆ ทำให้มนุษย์มีอิสรภาพพอสมควร เพราะยังไม่มีการใช้เงินตรา มีความเสมอภาคกันในการครอบครองสิ่งต่าง ๆมีการกดขี่กันน้อยมาก สิทธิอำนาจทางการเมืองอยู่ในมือคน  ที่แข็งแรง ผู้ที่ฉลาด ผู้ที่มีอาวุโส เป็นสังคมดั้งเดิมของมนุษย์”   มงเตสกิเออ พยายามอธิบายให้บักเคนเข้าใจสภาพสังคมของฝรั่งเศสสมัยดั้งเดิม ท่านมงเตสกิเออ ผมพอเข้าใจท่านกำลังอธิบายถึงสังคมที่มีความเท่าเทียมกันมีอะไรเท่าเทียมกัน อยู่กันในชุมชนที่ทุกคนไม่มีทรัพย์สมบัติเป็นตัวบ่งชี้ความแตกต่าง ข้าว ปลา อาหารหาได้จากธรรมชาติ จากป่า เงินตรายังไม่มี การปกครองอาศัยหลักอาวุโส ที่อุบลเรียกกว่าหลักเจ้าโคตร” “หลักเจ้าโคตร           คืออะไร คุณเคน อธิบายเจ้าโคตรให้ฟังหน่อย เป็นความแปลกใหม่ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน”

          มงเตสกิเออถามบักเคน “ระบบเจ้าโคตร คือ ระบบยึดถือ          ผู้อาวุโส จะเป็นคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน เจ้าโคตรจะต้องเป็นคน ให้การคุ้มครองป้องกันบุตรหลาน ไม่ให้ถูกรังแก ถ้าถูกรังแกแล้วก็ให้ได้รับความยุติธรรม ซึ่งคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นเจ้าโคตรประกอบด้วยคุณลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ เป็นญาติผู้ใหญ่ของแต่ละตระกูลที่เขาให้ความเคารพนับถือ เป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม เป็นคนไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ เป็นคนที่ตั้งมั่นในศีลธรรมอันดี ชาวบ้านทั่วไปในหมู่บ้านก็เคารพยำเกรง เพราะชาวบ้านที่อุบลนับถือผู้อาวุโสในรูปเจ้าโคตร พูดง่าย ๆ เจ้าโคตร คือ ญาติผู้ใหญ่เมื่อมีการเจ็บไข้ได้ป่วยก็ดี เกิดการขัดแย้งในครอบครัวก็ดี จะต้องมีการเชิญญาติผู้ใหญ่มาพูดคุยกันเพื่อหาวิธีจัดการหรือไกล่เกลี่ยให้คืนดีต่อกัน หรือปฏิบัติการต่าง ๆ ให้เป็นที่ยุติกัน แม้แต่กรณี การแบ่งมูลกัน (ทรัพย์มรดก) เจ้าโคตรก็จะมีบทบาทมากกว่า ตัวกฎหมาย” บักเคนอธิบายให้มงเตสกิเออฟังถึงหลักเจ้าโคตรของ   คนอีสาน

          “น่าสนใจมากหลักอาวุโสของคุณเคน เมื่อเทียบกับประเทศฝรั่งเศส ในประเทศเราหลังจากองค์กษัตริย์ได้ขยายขอบเขตประเทศออกไป การสำรวจโลกใหม่ การก่อสงครามได้สร้างความรุนแรงการจับคนมาเป็นทาสแรงงานจากดินแดนอันไกลโพ้น คนฝรั่งเศสเห็นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งการมีทาสเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ถ้ามีสัญญาทาสที่ไม่รุนแรงภายใต้ระบอบการปกครองที่เด็ดขาดซึ่งข้าไม่เห็นด้วยกับอริสโตเติล ที่บอกว่าระบบทาสเป็นสิ่งที่เลว ทั้งนายทาสและทาสและที่ว่าไม่มีใครเกิดมาเป็นทาสโดยธรรมชาติ”

          มงเตสกิเอออธิบายให้บักเคนฟัง “ทำไมท่านถึงเชื่อว่าการมีทาสเป็นสิ่งไม่ผิดครับ”

          บักเคนถามมงเตสกิเออ “สังคมถ้ามีแต่คนรวยทั้งหมดก็จะไม่มีใครทำงาน สังคมต้องประกอบด้วยคนจน คนรวยถึงจะเป็นสังคมที่ดีมีคนทำงาน โดยเฉพาะสังคมฝรั่งเศส เพราะมนุษย์ทั้งปวงมีความปรารถนาที่ฝังรากอย่างลึกล้ำที่จะเสวยสุขจากการมีคนอื่น ๆ เป็นข้ารับใช้ เพราะในสังคมฝรั่งเศส การเป็นสังคมเกษตรกรรมชาวบ้านปลูกข้าวสาลี ทำไร่องุ่น เป็นสาเหตุที่ต้องเอาระบบเงินตรามาใช้เพื่อการแลกเปลี่ยน เมื่อมนุษย์สร้างเงินตราเป็นสิ่งแลกเปลี่ยน เงินตราทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคมมนุษย์ เป็นสิ่งวัดความมั่งคั่งของคน ทำให้มีความหลากหลายของสินค้าทำให้มีการผลิตสินค้าออกจำหน่าย ทำให้เกิดความมั่งคั่งของคน ซึ่งความมั่งคั่งนำไปสู่ความฟุ่มเฟือย ความฟุ่มเฟือยนำไปสู่ความมั่งคั่งและการแข่งขันสร้างความงดงามของศิลปะ จากการแสดงออกทางฐานะทางสังคมของคน ตั้งแต่ปราสาทถึงวัฒนธรรมอาหาร แตร์รัวร์”

          มงเตสกิเออได้ สนทนากับบักเคนต่อ “บ่าย ๆ ถึงปารีสเราพักกินกาแฟแถวถนน อาเวอนูดอร์เลอง และเย็นนี้คุณเคนจะได้กินอาหารฝรั่งเศสกับอองตวน กวยเซโว เพื่อนสนิทของข้า เราจะได้ทานเอสการ์ โก อาลา บูร์กีญอน (หอยทากเคี่ยวไฟอ่อนกับวายแล้วราดด้วยเนยผสมกระเทียมกับพาสลีย์)และสนทนาศิลปะกับการเมืองกันต่อ”

          “ดีครับท่านมงเตสกิเออ ได้สนทนากับท่าน ทำให้ผมอยากได้ข้าวเหนียวร้อนกับกบปิ้ง คงดีไม่น้อย” บักเคนกล่าวตอบมงเตสกิเออ

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *