บักเคนทะลุมิติ ภาค 1 (ตอนที่ 040)

บักเคนทะลุมิติ ภาค 1 (ตอนที่ 40)

กัปตันกินเหล้ากับขุนนางชั้นสูงหมดเหล้าหลายแก้ว ความเมาเพิ่มดีกรีความโม้ยิ่งกว่านักมวยจอมโม้ของไทย ขึ้นไปอีก

“ท่านรู้ไหม ตอนที่ไปสำรวจเกาะ ตอนเรือชนหินโสโครก ข้าได้ช่วยชีวิตบุตรชายเจ้าหัวหน้าเกาะเอาไว้ เขาได้ให้เพชรบลูไดมอนด์แก่ข้า และข้าก็ไปให้เพื่อนสนิทที่เปิดร้านเจียรเพชรที่ ลูเซินร์น (Luzern) เจียระไนเพชรให้ ข้ามั่นใจว่า มีอยู่เม็ดเดียว  และสวยที่สุดในโลก”

“อะไรนะเพชรบลูไดมอนด์ มีด้วยหรือข้าไม่เคยได้ยิน ไม่ใช่พลอยหรือ ข้าว่าเจ้าเมาแล้วโม้ พูดไปเรื่อย ถ้ามีเจ้าทำไม่ไม่ขายแล้วเอาเงินทองเก็บไว้ ต้องมาลงทุนทำบาร์อโกโก้ทำไม” ขุนนางได้พูดกับกัปตัน

ถ้ามีจริงจะขายบอกข้า ข้าจะไปทูลองค์ราชินีให้รับซื้อเพชรของเจ้า

“ไม่นะท่าน อย่าบอกใคร ถือว่าข้าไม่ได้พูดก็แล้วกันนะ  เอ้าชนแก้ว” กัปตันกลบเกลื่อนเรื่องที่ตนเองโม้โดยชวนขุนนางชนแก้ว

การพูดคุยสนทนาของขุนนางกับกัปตันเป็นเรื่องสัพเพเหระ ส่วนมากเป็นเรื่องใต้สะดือซะมากกว่า มากกว่าจะพูดถึงสถานการณ์การเมืองในฝรั่งเศสที่กำลังวุ่นวาย ขบวนการฟรีเมสันได้ปล่อยข่าวลือด้วยการจ้างพ่อค้าเร่ (Colporteur) ที่ไปจำหน่ายสินค้าตามเมืองต่าง ๆ เอาปลิวใบไปแจกกับพ่อค้าเร่คนอื่น ๆ เป็นทอด ๆ จนทั่วฝรั่งเศสและใบปลิวส่วนหนึ่งก็พิมพ์ที่เนเธอร์แลนด์และสวิสเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม จนถึงสเปน

พ่อค้าเร่ทำให้ใบปลิว แจกจ่ายทั่วฝรั่งเศสและกลยุทธ์ลูกโซ่วางไว้หน้าบ้านชาวบ้านเป็นปึก ใครได้อ่านใบปลิวแล้วให้แจกจ่ายต่อเพื่อนบ้านอีก 19 คนจะโชคดี ภายใน 10 วัน ถ้าไม่แจกจ่ายจะตายภายใน 3 วัน ทำให้ใบปลิวที่พิมพ์มาเป็นปึกใหญ่ถูกแจกจ่ายอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านที่ได้อ่านใบปลิวแล้วเกรงกลัว รีบแจกจ่ายเพื่อนบ้านไปทั่ว และบางส่วนก็มาวางไว้หน้าบาร์ด้วย

แต่กัปตันให้นำไปทิ้งเสียไม่แจกจ่ายต่อเสียบรรยากาศของร้าน ข่าวลือแพร่สะพัดทั่วชุมชนว่าคนอ่านใบปลิวแล้วไม่เชื่อ ไม่ยอมแจกจ่ายต่อ ได้เสียชีวิตหลายคน ซึ่งจริง ๆ แล้ว ตายจากโรคระบาดมากกว่า ในชุมชนเมืองใกล้ท่าเรือมาเซย์ กัปตันพยายามพูดให้ขุนนางลืมเรื่องเพชรบลูไดมอนด์ และคิดว่าขุนนางคงไม่เชื่อคิดว่าตนเองพูดโม้ คนใช้ในร้านง่วงนอนมาก ขณะเดียวกันก็บ่นพึมพำ มันมีเรื่องคุยอะไรกันนักหนา ได้เวลาหลับนอนก็ไม่นอน โต๊ะสุดท้ายคุยกันไม่เลิก ตนเองต้องคอยเติมน้ำมันจากไขปลาวาฬเพื่อให้เทียนได้ส่องสว่างเกือบรุ่งสาง บาร์หลังจากเมาทั้งกัปตันและขุนนาง “ข้าว่าได้เวลานอนแล้วนะ เดี๋ยวต้องกลับก่อน ก่อนกลับมีอะไรกินรองท้องก่อนไหม” 

กัปตันได้ตอบว่าครัวปิดแล้ว มีแต่เหล้ากับถั่วทอด ขุนนางเลยเดินออกไปขึ้นรถม้าที่จอดรออยู่หน้าร้าน คนขับรถได้นอนหลับ บนรถม้าเพราะรอขุนนางกินเหล้ากับกัปตันไม่ไหว กัปตันได้เดินสะเงาะสะแงะไปส่งขุนนางขึ้นรถม้า และเสียงไก่ขัน ก็ดังขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นไก่ตัวผู้ตัวสุดท้ายของชุมชนนี้ที่รอดจากการถูกเชือดเป็นอาหาร เนื่องจากความอดอยาก เพราะชาวบ้านได้อาศัยเสียงไก่ขันบอกเวลาใกล้ย่ำรุ่งแล้ว กัปตันหลังจากส่งขุนนางขึ้นรถม้าก็ได้ขึ้นไปพักผ่อนโดยไม่รู้ความเมาได้สร้างความวิบัติให้กับตนเอง

เกือบบ่ายขุนนางตื่นนอนและได้นึกทบทวนถึงเรื่องที่พูดคุยกับเจ้าของร้านที่เป็นกัปตันเดินเรือมาก่อนสิ่งที่พูดคุยกันเมื่อคืน  ขุนนางเชื่อว่าเป็นความจริงเพราะเพชรบลูไดมอนด์ไม่มีในฝรั่งเศสแน่นอน เพราะไม่มีเหมืองเพชร แต่กัปตันเป็นพ่อค้าได้เดินทางไปทั่ว ไปยังดินแดนด้อยอารยธรรม แต่ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ คงจะได้เพชรบลูไดมอนด์มาจริง ถ้าไปกราบทูลพระนางมารีอังตัวเนต คงจะดีพระทัยไม่น้อยอาจจะได้รางวัลหรือได้เลื่อนตำแหน่ง คิดแล้วก็เรียกคนขับรถม้ามาหา

“มาร์ติน เจ้าจงไปที่จวนเจ้าเมืองมาเซย์ บอกว่าข้า เอ็มมา โรเอล โจเซฟ ซิเอแนส (Emmanuel Joseph Sieyes) สั่งให้คนไปสืบข่าวที่เมืองลูเซินร์น ร้านแถวสะพานชาเพล มีคนมาจ้างเจียระไนเพชรบลูไดมอนด์จริงไหม ถ้ามันไม่ตอบก็จัดการทรมานให้ได้ความจริงแล้วแจ้งข้าด่วน”

คนขับรถม้าก็ได้เดินทางไปยังจวนเจ้าเมืองเพื่อนำคำสั่ง ของ เอ็มมาโรเอล ไปบอกเจ้าเมือง ซึ่งเจ้าเมืองพอได้ยินเรื่องราวก็รีบส่งม้าเร็วไปสืบข่าวโดยด่วนเพื่อไปรายงานขุนนาง

บักเคนและปิแอร์เดินทางด้วยเท้ารอนแรมมาหลายสัปดาห์ ก็ถึงบ้านของปิแอร์ เมื่อถึงบ้านโรเบสปิแยร์ ได้ออกมาต้อนรับบุตรชายด้วยความดีใจ ที่บุตรจากบ้านไปนานไปหาความหมายให้กับชีวิต วันนี้กลับถึงบ้านต้องเลี้ยงฉลองรับบุตรชายและเพื่อนจากแดนไกล โดยงานเลี้ยงต้อนรับบุตรชายยามค่ำได้เชิญเพื่อนบ้าน มาร่วมงาน และได้ข่าวว่ามีคณะยิปซีเร่ร่อนจากอาหรับเต้นระบำหน้าท้อง (Belly Dance) ได้เดินทางมาถึงอาราสเพื่อเปิดการแสดงที่หอประชุมประจำเมือง จึงได้ให้คนขับรถม้า ไปจ้างมาแสดงงานเลี้ยงต้อนรับบุตรชาย

การเต้นระบำหน้าท้องเป็นศิลปะการเต้นรำที่เชื่อกันว่าเก่าแก่มากกว่า 6,000 ปี ในดินแดนแถบอียิปต์และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บักเคนพอได้ยินงานเลี้ยงต้อนรับปิแอร์มีการแสดงเต้นระบำ หน้าท้อง ก็ตื่นเต้นเพราะไม่เคยดูมาก่อนจึงตื่นเต้น เพราะเคยเห็น แต่ในหนัง ส่วนมากจะได้ดูแต่หมอลำซิ่ง

การเต้นระบำหน้าท้องสัมพันธ์กับวัฒนธรรมบูชาพระแม่ ผู้เป็นแหล่งที่มาของพลังชีวิต และมีพิธีกรรมเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ เอื้อให้การคลอดลูกเป็นไปโดยสวัสดิภาพ จึงเป็นการร่ายรำที่เน้นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อท้องและสะโพก ช่วยให้นางรำมีร่างกายแข็งแรง การเต้นระบำหน้าท้อง มีเต้นกันอยู่ในชนเผ่ายิปซีที่กระจัดกระจายอยู่ในแถบทะเลทรายซาฮาราในประเทศอาหรับ แถบตะวันออกกลาง ในประเทศตุรกี ในประเทศอิยิปต์  ตูนีเซีย มอรอคโค แถบแอฟริกาเหนือ ในประเทศรัสเซีย ยูเครน   ท่าเต้นระบำหน้าท้อง และเสื้อผ้าของนักเต้นระบำหน้าท้อง จะไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ คล้ายกับสำเนียงภาษา และอาหาร การกิน

ท่าเต้นหลักจะเป็นแนวเดียวกัน คือ ใช้มือแขนร่ายรำ  หน้าท้องจะถูกเต้นเป็นลอนคลื่น สะโพกจะส่ายเคลื่อนไหว   ส่วนเสื้อผ้า ก็มีสไตล์ที่คล้ายกัน คือ เน้นสะโพก ซึ่งอาจแต่งด้วยแถบผ้าสี ลูกปัด หรือเหรียญโลหะเย็บติดเป็นแถว เวลาส่ายจะได้เกิดเสียงดังกรุ๊งกริ๊งเข้ากับเสียงดนตรี บางคนเชื่อว่าแถบผ้า   ติดเหรียญนี้ เป็นวิธีเก็บสตางค์ไว้กับตัวของหญิงสาวนางระบำ  เผ่ายิปซีเร่ร่อนระหว่างเดินทางเต้นรำหาเงินสำหรับผ้าคลุม (VEIL) ของผู้หญิงในดินแดนอาหรับและเมดิเตอร์เรเนียน มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าศาสนาคริสต์และอิสลาม มีความเกี่ยวพันกับความศักดิ์สิทธิ์และปกป้องพลังสร้างสรรค์ของพระแม่ เชื่อกันว่าเดิมเป็นเครื่องแต่งกายของนักบวชและหญิงสูงศักดิ์ มองในแง่สภาพแวดล้อม ผ้าคลุมเป็นสิ่งจำเป็นในพื้นที่แดดจ้า ฝุ่นคลุ้ง เดี๋ยวหนาวเดี๋ยวร้อนของถิ่นทะเลทราย ชนเผ่าต่าง ๆ จึงห่มผ้าคลุมเป็นปกติ และสามารถดึงออกมาใช้เต้นรำ ในยามรื่นเริง ปัจจุบัน นักเต้นระบำหน้าท้อง ก็ยังคงใช้ผ้าคลุมประกอบการร่ายรำ เพื่อสร้างบรรยากาศลึกลับและอารมณ์พลิ้วไหว

You may also like...