บักเคนทะลุมิติ ภาค 1 (ตอนที่ 193)

บักเคนทะลุมิติ ภาค 1 (ตอนที่ 193)

ทุกคนเมื่อได้ยินอาดัมพูดถึงกับพยักหน้าสนับสนุนในแนวคิดของอาดัม ส่วนบักเคนกลับคิดไปถึงคลองกระของสยามมีความก้าวหน้าในการเริ่มขุดมีเพียงแค่เปลี่ยนชื่อเป็นคลองไทยแค่นี้เอง โครงการคลองกระหรือคลองไทยกินเวลายาวนานกว่า สามร้อยห้าสิบปี คนคิดจะศึกษาเป็นผีไปหลายรอบโครงการก็ยังไม่เริ่ม แนวคิดเริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพื่อเชื่อมอ่าวไทยกับอันดามัน คงเป็นไปได้แค่ความฝัน การขุดคงยังไม่มีการขุดกันจริงจัง คลองสุเอซที่นโปเลียนมาเริ่มศึกษาเพื่อที่จะขุด ได้เริ่มแนวคิดหลังคลองไทย แต่โครงการคลองสุเอซกลับขุดเรียบร้อยสร้างรายได้มหาศาลให้กับอียิปต์

“คุณเคนคิดอย่างไรกับแนวคิดขุดคลอง” ผมเห็นด้วยครับท่าน สมัยสมเด็จ  พระนารายณ์ ก็ทรงมีดำริว่าจะขุดคลองเชื่อมทะเลเหมือนกัน เพื่อเรือสินค้าจะได้เดินทางมายังสยามได้รวดเร็วไม่ต้องเสียเวลาเดินทางอ้อมช่องแคบมะละกา”

“ผมเห็นด้วยกับรัฐบาลสยามถ้าขุดคลอง สินค้าจากยุโรปจะไปยังเอเชีย จีนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การค้าจะขยายตัวมาก” อาดัมสนับสนุนแนวคิดการขุดคลองของสยาม

“แล้วสยามเริ่มขุดคลองยัง” เกลแบล์ถามบักเคน

“ยังครับ”

“ทำไมไม่ขุดคลองเมื่อมีแนวคิดดี ๆ อย่างที่คุณอาดัมกล่าวไว้ ถ้าสยามขุดคงร่ำรวยเป็นมหาอำนาจมากกว่านี้” เกลแบร์ถามด้วยความสงสัย

“ผมคิดว่าถ้าขุดคลองกลัวจะเป็นการแบ่งแยกดินแดนของสยามและต่างชาติสนับสนุนไม่ให้ขุดกลัวเสียผลประโยชน์การเดินเรือครับท่านเกลแบร์”

“ผมว่าคนที่คิดแค่นี้ มีความคิดตื้นเขิน ใครจะโง่ให้เงินสนับสนุนไม่ให้ขุด    ถ้าเขาจะให้เงินสู้บุกมายึดสยามยังง่ายกว่าเพราะการให้เงินสนับสนุนไม่ให้ขุดคลองไม่มีวันจบสิ้น ผมว่าคนเสนอความเห็นว่าต่างชาติให้เงินสนับสนุนเป็นพวกไร้สาระสิ้นดี”

“ส่วนกลัวการเสียดินแดนถ้าถูกแยกเป็นสองฝั่ง ผมคิดว่าไม่นะ ยกเว้นคนฝั่งคลองอีกฝั่งเขาไม่ได้ผลประโยชน์หรือมีความเป็นอยู่ย่ำแย่กว่าเดิม ถ้าเขามีรายได้ดี กินดีอยู่ดี คงไม่คิดแยกตัวออกห่างจากสยามแน่นอนคุณเคน ต้องมีการศึกษาก่อน  ขุดคลองอย่าด่วนคิดไปเอง คนส่วนใหญ่ไม่ชอบคิดชอบแต่พูด” เกลแบร์บอกกับ  บักเคน

“ผมเห็นด้วย อย่างที่ท่านนโปเลียนเคยบอกกับผม คนเราชอบตัดสินไปเสียทุกอย่าง โดยไม่ได้ดูที่ไปที่มา หาเหตุหาผลมารองรับ สู้ตัดสินใจพูดออกไปเลยโดยไม่ดูข้อมูล เพราะการพูดเป็นเรื่องง่าย จะถูกหรือผิด เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะถือว่าไม่ใช่เรื่องของตน เหมือนท่านนโปเลียนว่าไว้” อาดัมสนับสนุนความคิดของเกลแบร์

“ครับท่าน”

“ผมขอถามนายท่าน ได้ไหม ผมอยากทราบว่าท่านจะขุดคลองที่ท่านมาสำรวจหรือไม่ และต้องศึกษาเหมือนกับท่านเกลแบร์เสนอหรือไม่” รัสตัมถามนโปเลียนด้วยความสงสัย

“ผมศึกษาข้อดีข้อเสียของการขุดคลอง แล้วผมตัดสินใจเลย ไม่ถามความเห็นชาวบ้านเพราะถามไปไม่มีประโยชน์ต่อฝรั่งเศสผมขุดเลยถ้าผมยังยึดครองอียิปต์ต่อการถามความเห็นทำให้ล่าช้า ร้อยคนร้อยความคิด เสียงส่วนใหญ่ใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไป นโปเลียนพูดเป็นลาง เหมือนกับว่าจะไม่ได้ยึดอียิปต์ต่อไป

บักเคนนึกในใจนี่มันเผด็จการชัดๆ ไหนว่าชาวบ้าน มีเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ในการแสดงออก ทำไมนโปเลียนถึงตัดสินใจคนเดียว โดยไม่ฟังความเห็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่บักเคนนึกเปรียบเทียบกับความคิดแบบเผด็จการคอมมิวนิสต์ ในยุคต่อมาที่ทำลายสิ่งแวดล้อมจนหายนะมาถึงทุกวันนี้เพราะความคิดของคนเพียงคนเดียวที่ทำลายระบบนิเวศน์ไม่ทักท้วงและไม่ศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้านฟังแต่ปรึกษาของตนเพียงอย่างเดียว แตกต่างจากนโปเลียนอย่างสิ้นเชิง

บักเคนจำได้เคยได้อ่านบันทึกที่เติ้งเสี่ยวผิงสรุปบทเรียนภายหลังการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยที่ประธานเหมาเจ๋อตงตัดสินใจไปโดยไม่ศึกษาถึงผลดีผลเสียอย่างแท้จริง

“คุณเคนทำไมถึงเงียบ” นโปเลียนถามบักเคน

“ผมคิดถึงสิ่งที่ท่านพูด ต้องคิดก่อนหาข้อมูล ผมขอเล่าเรื่องที่ผมเคยอ่านบันทึกในสยามเรื่อง การมุ่งแต่ผลเพียงด้านเดียว มันอาจจะส่งผลอย่างร้ายแรงตามมาอย่างไม่คาดคิดครับท่าน”

“น่าสนใจคุณเคน” เกลแบร์ได้บอกกับบักเคน 

“เรื่องมันเป็นอย่างไรไหนลองเล่าให้ฟังหน่อย” อาดัมบอกกับบักเคน

“มันเป็นโครงการที่ผู้นำของประเทศต้องการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรือง ปราบศัตรูที่เป็นภัยต่อมนุษย์ และพืชผลการเกษตรจึงคิดโครงการกำจัดสัตว์สี่ประเภทที่แพร่เชื้อโรค ยุง หนู แมลงวัน และนกกระจอกขึ้นมา”

“ผมสมมติว่าผู้นำชื่อ เหมาเจ๋อตงก็แล้วกัน ท่านคิดและเชื่อที่ปรึกษาไปเองว่า นกกระจอกบ้าน คือตัวการสำคัญ ในการกัดกินธัญพืชของเกษตรกร ทำให้ผลผลิตเสียหายนกกระจอกบ้านเพียงตัวเดียวกินข้าวเปลือกถึง 4.5 กิโลกรัมต่อปี ถ้ามี        นกกระจอกบ้าน 1 ล้านตัวถูกกำจัดจะมีข้าวเพียงพอสำหรับชาวบ้านถึง 60,000 คน เหมาเจ๋อตุงจึงสั่งให้ชาวบ้านเข้าร่วมโครงการกำจัดนกกระจอกบ้าน”

“โดยให้เป็นวาระแห่งชาติ ร่วมกันสังหารนกกระจอกบ้านล้างเผ่าพันธุ์ มีการฆ่านกกระจอกบ้านด้วยทุกวิธีทาง ยิง ดักลอบ ใช้ยาพิษ ตีเกราะ เคาะกระทะ หม้อ เพื่อส่งเสียงดังให้นกบินขึ้นฟ้า ให้นกบินอยู่บนท้องฟ้าตลอดเวลาไม่ให้บินลงมาสู่พื้นดิน ทำให้นกอ่อนเพลียและตายจากการบินไม่หยุดพัก สงครามล้างเผ่าพันธุ์      นกกระจอกทำทั่วแผ่นดิน ผลทำให้นกกระจอกบ้านตายไปถึง 1,000 ล้านตัว สัตว์ที่ถูกให้กำจัดในวาระแห่งชาติในลำดับต่อมา ทั้ง หนู แมลงวัน ยุง ถูกฆ่าสังหารมากมายมหาศาล หนู 1,500 ล้านตัว แมลงวัน 100 ล้านกิโลกรัม และยุง 11 ล้านกิโลกรัม”

บักเคนเล่าต่อไปว่า “ผลกระทบจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สัตว์สี่ประเภท เกิดความอดอยากครั้งยิ่งใหญ่”

“อ้าว ฆ่านกกระจอกบ้าน ยุง หนู แมลงวัน แล้วทำไมอดอยากในเมื่อไม่มีศัตรูทำลายพืชผลการเกษตร” เกลแบร์สงสัยถามบักเคน

“เหรียญมีสองด้าน  ผลที่เกิดขึ้นก็มีทั้งดีและไม่ดี นกกระจอกบ้านหายไป    มันทำลายห่วงโซ่อาหาร เมื่อไม่มีนกคอยกินแมลง ทำให้แมลงศัตรูพืชขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะตั๊กแตนที่กัดกินข้าวเสียหาย เพราะไม่มีนกคอยกินตั๊กแตน”  บักเคนอธิบายให้เกลแบร์เข้าใจ

ฝูงตั๊กแตนแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วไปทั่วประเทศฝูงตั๊กแตนมืดฟ้ามัวดิน เวลาบินท้องฟ้ามืดมิด ได้ลงกินผลผลิตของชาวบ้านทำให้ชาวบ้านต้องอดอยากหิวโหย อดอาหารเสียชีวิตเกือบห้าสิบล้านคนเนื่องจากความอดอยาก เพราะความคิดเพียงคนเดียวทำลายห่วงโซ่ธรรมชาติ เมื่อประธานเหมาได้คิดก็สายไปเสียแล้ว เพราะนกกระจอกบ้านไม่มีเหลืออยู่มากพอที่จะกำจัดแมลงศัตรูพืช”

“อืมส์ น่าคิดการมุ่งกำจัดศัตรูพืชลืมนึกถึงห่วงโซ่ธรรมชาติ มันส่งผลร้ายแรงขนาดนี้เลยหรือ”  นโปเลียนถามบักเคน

“ครับท่านนโปเลียน การพัฒนาต้องมองทั้งสองด้าน ต้องศึกษาคิดให้รอบคอบก่อน ของทุกอย่างในโลกนี้มีประโยชน์ ทั้งหมด ถ้าไม่มีประโยชน์มีแต่โทษเพียงอย่างเดียว ธรรมชาติคงไม่สร้างสรรค์ขึ้นมาในโลกใบนี้หรอกท่าน เพียงแต่พวกเราไม่ทราบประโยชน์ของมันแค่นั้นเอง” บักเคนสรุปให้ทุกคนฟัง

You may also like...