บักเคนทะลุมิติ ภาค 1 (ตอนที่ 012)

บักเคนทะลุมิติ ภาค 1 (ตอนที่ 12)

          คำอธิบายของมงเตสกิเออทำให้บักเคนมองภาพสังคมการเมืองฝรั่งเศสแต่ยังไม่ชัดเจนมากนักในเรื่องแนวคิดการปกครองที่คล้ายกับระบบฟิวดัล บักเคนได้ถามมงเตสกิเออว่า

ท่านมงเตสกิเออ ทำยังไงผมจะมีโอกาสได้ไปอังกฤษไปเที่ยวลอนดอนบ้างครับ บางทีจะได้มีโอกาสพบกับท่าน จอห์น ล็อคบ้างครับ

น่าเสียดายคุณเคน ผมได้ข่าวจากอังกฤษ ท่านจอห์น ล็อคได้เสียชีวิตนานแล้ว คุณเคนไม่รู้หรือ“ไม่ทราบครับท่าน” ก็ผมเคยบอกท่าน ผมเข้าใจประวัติศาสตร์ไม่ชัดเจน ไม่จำเหตุการณ์ครับ บักเคนตอบมงเตสกิเออ

          “ถ้าคุณเคนสนใจแนวคิดท่านและอยากทราบรายละเอียดผมจะนำไปพบเลดี้ มาแชม ต้องไปฟังแนวคิดของท่าน ล็อค จากปากเลดี้ มาแชมที่เป็น เพื่อนสนิทของ ของ ล็อค ท่านเลดี้มาแชม เข้าใจแนวคิดของ ล็อค มากที่สุด บางครั้งข้าไม่เข้าใจแนวคิดของล็อค ก็จะไปสนทนากับท่าน ซึ่งท่านมาอาศัยอยู่ในปารีสหลายสิบปีแล้ว ท่านอายุมากแล้วมงเตสกิเออบอกบักเคน

ท่านอายุประมาณเท่าไหรบักเคนถามมงเตสกิเออ

ผมว่าท่านไม่ต่ำกว่า 90 ปีท่านอายุยืนมาก และความจำดีมาก ไปฟังแนวคิด ล็อค เพื่อคุณเคนจะได้เข้าใจ แนวคิดการปกครองได้ดียิ่งขึ้น

          มงเตสกิเออและบักเคนได้นั่งรถเทียมม้าไปยังบ้านของ เลดี้ มาแชม โดยให้ ตูส์แสงต์ ได้ตามไปด้วย เพราะ ตูส์แสงต์ สนใจอยากฟังแนวคิด มงเตสกิเออก็อนุญาติให้ไปด้วยกัน เมื่อรถม้ามาถึงบ้านเลดี้ มาแชม ตูส์แสงต์ ได้ลงจากรถม้าและไปบอกทาสของ เลดี้ มาแชม ว่า

“ท่านมงเตสกิเออมาพบท่านเลดี้ มาแชม” 

ซึ่งทาสของเลดี้ มาแชมได้ไปบอก เลดี้ มาแชม และได้ให้ มงเตสกิเออและ ตูส์แสงต์ เข้าพบที่ห้องรับรอง

สวัสดีเลดี้ มาแชม ด้วยความคิดถึงอย่างสุดซึ้งมงเตสกิเออบอกกับเลดี้มาแชม

สวัสดีท่านมงเตสกิเออ ยินดีที่ได้พบ ข้ากำลังเหงาอยู่พอดีดีใจที่ท่านมาเยี่ยม อ้าวแล้วท่านสุภาพบุรุษ ยินดีที่ได้พบ

เลดี้ มาแชม ข้าขอแนะนำ คุณเคน จากสยาม และคนรับใช้คนสนิทของข้า ตูส์แสงต์

ยินดีที่ได้พบท่านทั้งสอง มา มา ๆ ทานอาหารว่างกับน้ำชายามบ่ายเลดี้ มาแชม กล่าวเชิญชวนมงเตสกิเออ บักเคนและตูส์แสงต์

เลดี้ มาแชร์ ชอบดื่มชา และก็ได้นั่งคุยกับมงเตสกิเออ เกี่ยวกับเรื่องการเมืองในอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งสนทนาไปได้สักพัก มงเตสกิเออก็บอก เลดี้ มาแชม ว่า “คุณเคนสนใจในชีวิตของ ล็อค พอจะเล่าความเป็นมาคร่าวให้ฟังได้ไหม อะไรดลใจให้ ล็อค ถึงได้เขียนอธิบายแนวคิดเกี่ยวกับ สิทธิ เสรีภาพ” 

เลดี้ มาแชม ก็ตอบ “ด้วยความยินดีและนั่งนึกทบทวนถึงความหลังสมัยอยู่อังกฤษ เมื่อครั้งเรียนที่เมือง อ็อกฟอร์ด กับ ล็อค เหมือนกับเหตุการณ์เพิ่งผ่านไปไม่นาน ชีวิตวัยเรียนของทั้งสองสนุกตื่นเต้นได้พูดคุยแนวคิดทางการเมือง ศิลปะ ไปผับยามเย็น พูดคุยเรื่องเรียนกับ ล็อค ที่เมืองอ็อกฟอร์ด”

เลดี้ มาแชม ได้เล่าชีวประวัติของ ล็อค ตั้งแต่วัยเด็กให้ฟัง สมัยนั้นที่อ็อกฟอร์ดเป็นฝ่ายนิยมกษัตริย์ แต่ภายหลังสงครามกลางเมือง ออกฟอร์ด ได้กลายเป็นพวกเพียวริตัน

          “ผู้บริหารมหาวิทยาลัยในขณะนั้นเป็นผู้มีใจกว้างต่อผู้ที่ มีความคิดเห็นแตกต่างทั้งทางด้านการเมืองและศาสนา ลักษณะความใจกว้างเช่นนี้เป็นที่นิยมชมชอบและมีอิทธิพลต่อล็อคไม่น้อย อ็อกฟอร์ด หลังสงครามกลางเมืองแม้จะเปลี่ยนเป็นพวกเพียวริตันแล้ว แต่หลักสูตรที่มีอยู่เดิมก็ไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ความคิดของอริสโตเติลยังมีอิทธิพลในการศึกษาที่แสดงออกมาในรูปของปรัชญาสกอลาสติก (Schlolasticism)

“ปรัชญาดังกล่าวมีวิธีการศึกษาแบบโต้แย้งถกเถียงและการวิเคราะห์แจกแจงอย่างละเอียดลึกในทางตรรกะ ล็อคเริ่มเรียนปรัชญาที่นี่ แต่ความรู้สึกที่ล็อคได้รับในการเรียนปรัชญานั้นแทบไม่ต่างไปจากความรู้สึกของโทมัส ฮอบบ์ เมื่อครั้งที่เรียนที่  อ๊อกฟอร์ด เขาเบื่อการเรียน การตอบคำถามอาจารย์ ล็อคไม่ตั้งใจเรียน ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปที่ห้องสมุด เพื่อหาหนังสือที่สนใจซึ่งล็อคสนใจแนวคิดของ เดส์การ์ตส์ ช่วงนี้ทำให้ล็อคเริ่มอ่านและสนใจแนวคิดของ เดส์การ์ตส์ ซึ่งงานเขียนง่าย ๆ ของเดส์การ์ตที่ไม่ค่อยมีคำศัพท์ชั้นสูง”

“ทำให้ล็อคไม่ต้องปีนบันไดอ่านภาษาวิชาการที่เต็มไปด้วยศัพท์แสลง ยากจะเข้าใจ ซึ่ง เดส์ การ์ตส์ เป็นชาวฝรั่งเศส ไว้ให้ท่าน มงเตสกิเออ เล่าให้คุณเคนฟังก็แล้วกัน

          ข้าขอเล่าต่อก็แล้วกัน หลังจาก ล็อคอ่านงานของเดส์การ์ตส์ แม้ว่าเขาจะไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของเดส์การ์ตส์ที่ว่า ความรู้  เกิดจากการที่มนุษย์ใช้ความคิดตรึกตรองอย่างที่ไม่ต้องอาศัยประสบการณ์ การสังเกต หรือการทดลองก็ตาม แต่การล็อคเน้นแนวคิดที่ว่าความรู้ของมนุษย์ต้องอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้ ประสบการณ์แล้วผ่านกระบวนการตรึกตรองนั้นก็ได้สะท้อน ให้เห็นกระแสแนวคิดแบบภูมิปัญญาสมัยใหม่ในแง่ที่ว่า ความรู้มีลักษณะก้าวหน้าจากการสั่งสม ประสบการณ์ประกอบกับการใช้ความคิดไตร่ตรองแนวคิดของเดส์การ์ตส์มีลักษณะประการหนึ่งคือการยึดถือความแน่นอนของคณิตศาสตร์ ว่าเป็นแบบแผนที่ถูกต้องของความจริง” 

You may also like...