บักเคนทะลุมิติ ภาค 1 (ตอนที่ 041)

บักเคนทะลุมิติ ภาค 1 (ตอนที่ 41)

หลังจากการแสดงเสร็จสิ้น บักเคนตื่นตาตื่นใจกับการแสดงมากเพราะไม่เคยได้ดูมาก่อนในชีวิต นอกจากเห็นแต่หนังอินเดีย    ที่พระเอกนางเอก เต้นพร้อมกับส่ายหน้าร้องเพลง ส่วนนางเอก ส่ายหน้าส่ายสะโพกและก็วิ่งไปรอบ ๆ ต้นไม้      บักเคนนึกในใจ ถ้าสวรรค์ทรงเมตตา ได้กลับดอนมดแดง จะนำศิลปะ การเต้น หน้าท้องไปประยุกต์กับหมอลำซิ่ง ทั้งจังหวะท่าร่ายรำและเสียงดนตรี คงจะเรียกผู้ชมได้ไม่น้อย

“สาธุ เทวดาฟ้าดินขอให้ข้าน้อยได้กลับดอนมดแดง ข้อยจะแก้บนด้วยหมอลำซิ่งประยุกต์กับเต้นระบำหน้าท้อง เจ็ดมื้อ        (เจ็ดวัน)” บักเคนกล่าวบนบาน 

ทำอะไรหรือคุณเคน “โรแบสปิแยร์” ถามบักเคน “อ๋อผมสวดอ้อนวอนเทวดาให้ผมได้กลับบ้าน คิดถึงบ้านครับ” บักเคน  กล่าวตอบ

บักเคนพักอยู่บ้านปิแอร์ รุ่งเช้าบักเคนกับปิแอร์ได้ทานอาหารร่วมกับ โรแบสปิแยร์ สองคนพ่อลูกได้พูดคุยกันถึงเรื่องสมาคมลับฟรีเมสัน ที่วางแผนจะล้มล้างระบอบการปกครองของกษัตริย์และขุนนางชั้นสูงที่ครอบงำฝรั่งเศส เพื่อปลดปล่อยประชาชนที่กำลังกับปัญหาความอดอยากหิวโหย และการขูดรีดภาษีไปปรนเปรอราชสำนักและศาสนจักร บักเคนได้แต่ฟังเงียบ ๆ และนึกทบทวนข่าวที่ตนเองได้ดูแทบทุกวัน ถึงเหตุการณ์ในตะวันออกกลาง อาหรับสปิง (Arab Spring) คลื่นปฏิวัติการเดินขบวน

การประท้วงและสงครามซึ่งเกิดขึ้นในโลกอาหรับ ปลายปี  พ.ศ. 2553 การลุกฮือของประชาชนเกิดจากการที่ไม่สามารถทนอยู่ภายใต้อำนาจของผู้ปกครองประเทศในขณะนั้นได้อีกต่อไป โดยเริ่มจากประเทศตูนิเซีย ที่ประชาชนขับไล่ประธานาธิบดี ซีน เอล อาบิดิน เบน อาลี ซึ่งเป็น ประธานาธิบดีตลอดกาลให้ลงจากเก้าอี้ได้เป็นผลสำเร็จ โดยเริ่มต้นขึ้นที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในประเทศตูนิเซีย เมื่อชายขายผักคนหนึ่งจุดไฟเผาตนเอง เนื่องจากไม่พอใจรัฐบาล จากนั้น การประท้วงก็ได้เริ่มลุกลาม จนขยายเป็นวงกว้างไปทั่วประเทศ และทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมถึงแอฟริกาเหนือ จากนั้นการประท้วงก็ลุกลามไปอีกหลายประเทศ ไล่ตั้งแต่อียิปต์ ประชาชนขับไล่ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ซึ่งตัดสินใจลาออก แต่ก็ถูกพิจารณาคดีข้อหาทุจริต ต่อด้วย พ.อ.โมอัมมาร์     กัดดาฟี ประธานาธิบดีลิเบีย ซึ่งมีการประท้วงขับไล่ยาวนาน   แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้ต่อพลังประชาชน และเสียชีวิต

ผู้นำที่ถูกขับไล่อีกคนหนึ่ง คือ นายอาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ ประธานาธิบดีเยเมน ที่ต้องยอมลงนามในข้อตกลง สละอำนาจทั้งหมดให้กับรองประธานาธิบดีทำหน้าที่ปกครองประเทศต่อไป โดยแลกกับเอกสิทธิ์ไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี การประท้วงของอาหรับสปริง ถูกมองว่า เป็นการลุกฮือเพื่อต่อต้านการผูกขาดอำนาจ การประท้วงมีเทคนิคทั้งการนัดหยุดงาน การเดินขบวน และการชุมนุม

บักเคนนึกถึงความวุ่นวายในอียิปต์ จากสภาพปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ และความยากจน ก็ได้ช่วยจุดชนวนการประท้วงให้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนชาวอียิปต์กว่า 1,000,000 คน ได้ออกมารวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัก ก้าวลงจากตำแหน่ง ซึ่งนายมูบารัก ก็ได้เสนอทางออกในช่วงนั้นว่า เขาจะยอมถ่ายโอนอำนาจให้แก่รองประธานาธิบดี แต่จะไม่ก้าวลงจากตำแหน่งในทันที ตามที่ผู้ประท้วงต้องการ ท้ายที่สุด นายมูบารัก  ก็ถูกบังคับให้ก้าวลงจากตำแหน่ง โดยคณะกรรมาธิการทหาร ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารประเทศชั่วคราว ท่ามกลางการเฉลิมฉลองของประชาชนทั้งประเทศ และเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นายมูบารัก พร้อมกับบุตรชายทั้งสองคน ก็ได้ขึ้นศาลเพื่อรับฟังการพิจารณาคดี ที่พวกเขาถูกตั้งข้อหาว่า ทุจริตคอรัปชั่น โดยนายมูบารักและบุตรชาย ได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

ประเทศบาห์เรน ก็เริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจกับผู้ชุมนุม เนื่องจากชาวบาห์เรนที่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายชิอะห์ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่พอใจการปกครองของชนชั้นปกครอง ที่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนี ความขัดแย้งในครั้งนี้ ทำให้รัฐบาลบาห์เรนต้องประกาศกฎอัยการศึก พร้อมนำกำลังเข้าสลายการชุมนุม  ประเทศเยเมน ซึ่งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ประชาชนได้รวมตัวกันต่อต้านประธานาธิบดีอาลี อับดุลเลาะห์ ซาเลห์ ที่ปกครองประเทศมานานถึง 33 ปี การประท้วงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าประธานาธิบดีซาเลห์จะแถลงการณ์ว่า เขาจะยอมก้าวลงจากอำนาจเพื่อให้เหตุการณ์นองเลือดยุติลงแต่ดูเหมือนว่า  คำแถลงดังกล่าวไม่ได้เกิดผลอันใดทั้งสิ้นเนื่องจากการสลายการชุมนุมและสังหารประชาชนยังคงเกิดขึ้นทุกวันเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงที่เด่นที่สุดในแอฟริกาเหนือ ประเทศลิเบีย แม้ว่าทุกคนจะทราบจุดจบเรากันดีว่าพันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟี ประธานาธิบดีลิเบีย ที่ปกครองประเทศมานานถึง 41 ปี ได้ถูกฝ่ายตรงข้ามสังหารจนเสียชีวิตลง ขณะที่บุตรชายของเขา  ก็ถูกจับกุมอยู่ที่ลิเบีย และก็เหตุการณ์ที่ประเทศซีเรีย ที่เหตุการณ์การประท้วงยังคงเกิดขึ้น ซึ่งบักเคนไม่ได้ตามข่าวสารเพราะได้ทะลุมิติมาที่ฝรั่งเศสก่อน บักเคนนึกในใจต้นกำเนิดของการปฏิวัติประชาชนมีที่มาจากฝรั่งเศสนั่นเอง และตนเองก็โชคดีที่ได้เข้าร่วมและรับรู้เหตุการณ์ แต่โชคร้ายไม่รู้จะได้กลับบ้านไหม บักเคน นึกถึงเพลง let it be ของ The Beatles 

You may also like...