บักเคนทะลุมิติ ภาค 1 (ตอนที่ 131)

บักเคนทะลุมิติ ภาค 1 (ตอนที่ 131)

กองเรือของเกลแบร์เข้าเทียบท่าเรือที่อ่าวฐานทัพอ่าวอาบูกีร์ นโปเลียนหลังจากกลับจากเรือนรับรอง ได้ไปชักชวนบักเคนให้ ไปรอรับ เกลแบร์ ซึ่งอาจจะมาถึงในสองสามวันข้างหน้า นโปเลียนและบักเคน ร้อยโลลูคัส และทหารติดตาม 300 คน ส่วนมากจะเป็นกองดุริยางค์ ได้ขี่ม้าออกจากไคโร มุ่งตรงไปยังเมืองอเล็กซานเดีย เพื่อไปยังอ่าวอาบูกีร์ เพื่อรอต้อนรับเกลแบร์

“ท่านนำมาลัยดอกไม้มาทำไม”  นโปเลียนสงสัยในมือของบักเคนมีพวงมาลัยที่ทำจากดอกไม้ที่หาได้ในอียิปต์

“เอามาต้อนรับท่านเกลแบร์ ที่มาถึงอียิปต์” บักเคนบอกกับนโปเลียน”

มาลัยดอกไม้เขาเอาไว้ประดับประตูบ้าน เพิ่งเคยเห็นคุณเคนเอามาลัยดอกไม้มารับท่านเกลแบร์”

“มันเป็นประเพณีของสยามเวลาแขกมาเยือนหรือแขกออกเดินทางจะต้องต้อนรับด้วยมาลัยดอกไม้ แต่บ้านผมเรียกพวงมาลัย” บักเคนบอกนโปเลียน

กองเรือของเกลแบร์โผล่มาจากขอบฟ้า เสากระโดงเรือมีธงชาติฝรั่งเศสปลิวไสว นโปเลียนได้สั่งให้ทหารกองดุริยางค์ มาบรรเลงเพลงรอต้อนรับเกลแบร์ เมื่อเรือใกล้เทียบท่า บักเคนและ

นโปเลียนยืนคุยกันที่ศาลารับรอง รอบศาลายืนเรียงรายไปด้วยทหารในท่วงท่าเข้มแข็ง ทหารกองดุริยางค์ เริ่มเพลงบรรเลง เพลงมารซ์ เมื่อกองดุริยางค์บรรเลงเพลงหนึ่งบักเคนถึงกับสะดุดหูเพราะเป็นเพลงที่ตนเองเคยได้ยินมาจากที่ไหนสักแห่งสมัยทำงานอยู่ที่ร้านอาหารฝรั่งเศสและไปทานอาหารอีสานที่ร้านลาบอุบล บริเวณฝั่งซ้ายของแม่น้ำแซนส์ ร้านลาบเปิดเพลงบรรเลงนี้ บักเคนนึกว่าเป็นเพลงบรรเลงธรรมดา แต่เมื่อได้ยินจึงนึกสะดุดกับเสียงเพลง

“ท่านนโปเลียนผมเคยได้ยินเพลงบรรเลงนี้ มาจากที่ไหนสักแห่ง”

นโปเลียนมองหน้าบักเคน อย่างแปลกใจ ระคนสงสัย เคยได้ยินได้อย่างไร เพราะเพลงนี้ไม่แพร่หลาย “อ๋อเป็นเพลงที่ เบโธเฟน แต่งให้ผม” นโปเลียนบอกบักเคน

“ท่านว่าอะไรนะ เบโธเฟน นักดนตรีโด่งดังแต่งเพลงให้ท่าน”

บักเคนถึงกับอึ้งเมื่อได้ยินจากปากนโปเลียน

“ผมพบกับเบโธเฟนที่ปารีส เบโธเฟนชื่นชมและประทับใจในตัวผมที่ไม่ทำร้ายประชาชนในคราวชาวบ้านบุกพระราชวัง จึงแต่งบรรเลง ซิมโฟนี่หมายเลข 3 ใน อีแฟลทเมเจอร์ มอบให้ผม และยังเขียนด้วยลายมือของเบโทเฟ่น ว่า  Sinfonia Grande Intitulata Bonaparte eroica  (อิโรอิกา วีรบุรุษ) เดี๋ยวผมจะให้ทหารนำต้นฉบับมาให้คุณเคนดู”

ก่อนมารบที่อียิปต์ ผมจึงมอบให้กองดุริยางค์ นำเพลงนี้มาบรรเลงในกองทัพ แล้วคุณเคนเคยได้ยินมาจากที่ไหน”

“เอ่อ… อ้า… ผมรู้สึกว่าเคยได้ยิน อาจจะหูแว่วก็ได้ บักเคนชักสงสัยว่าเพลงที่ตนได้ยิน ทำไมมันคล้ายเพลงที่กองทหารบรรเลงในตอนนี้ ที่แท้ก็เพลงของเบโธเฟนนี่เอง”

“ท่านนโปเลียน ทำอย่างไรผมถึงจะได้พบกับเบโธเฟนบ้างครับ”

“ไว้กลับไปปารีส ผมจะเชิญเบโธเฟนให้มาพบและแนะนำให้คุณเคนรู้จัก”

“ขอบคุณครับ”

เกลแบร์กำลังเดินลงจากเรือรบ นโปเลียนและบักเคนได้เดินออกจากศาลาที่พักเพื่อไปต้อนรับเกลแบร์ที่ลงจากเรือ

“สวัสดีท่านเกลแบร์ ยินดีต้อนรับท่านสู่อียิปต์ บักเคนรีบเอาพวงมาลัยไปคล้องคอ ท่าเกลแบร์ “อะไรกันนี่ หมายความว่าอย่างไร” เกลแบร์เอ่ยปาก พร้อมกับความสงสัยว่าบักเคนทำอะไร

โทษทีท่าน นี่คุณเคนมาจากสยาม เพื่อนผมเอง ผมชวนคุณเคนมารอต้อนรับท่านคุณเคนเลยเอามาลัยดอกไม้ หรือที่เรียกว่าพวงมาลัย มาคล้องคอท่าน เพื่อความโชคดี และยินดีต้อนรับสู่อียิปต์” นโปเลียนอธิบายให้เกลแบร์ได้ทราบ

“อ่อ อย่างนี้นี่เอง ผมขอโทษที่เข้าใจผิด” เกลแบร์บอกบักเคน

“ไม่เป็นไรท่าน”

ท่านนโปเลียนผมได้เอาปืนใหญ่มาเพิ่มเติมให้ท่านสองร้อยกระบอก ส่วนหนึ่งนำมาจากห้องใต้ดินที่แองวาลิด เพราะตอนนี้ปืนใหญ่ขาดแคลนต้องเอาปืนเก่าสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เก็บไว้และสามารถใช้การได้นำมาใช้ ทหารได้ค่อยลำเลียงปืนใหญ่ขึ้นจากเรือ

และนำมาวางเรียงรายกันบนพื้น นำปืนมาติดตั้งบนล้อเลื่อน (เหมือนกับปืนใหญ่สมัยปัจจุบัน) และตามมาด้วยเกวียนสนาม ที่ไว้รับส่งทหารที่บาดเจ็บจากสงคราม ผลงานของหมอลาเรย์ ที่เกลแบร์ได้นำขึ้นเรือมาด้วย เพื่อนำมาใช้ในสงครามที่อียิปต์ “

“ยิ่งไปกว่านั้น คณะกรรมการดิเร็กตัวร์ ได้อนุญาตให้โสเภณีปลอมตัวเป็นทหารมากับเรือประมาณ 500 คน เพื่อทำการปลอบขวัญทหารให้คลายนึกถึงบ้าน” เกลแบร์บอกนโปเลียน

“แสดงว่าเรือท่านห้าลำมีทหารปลอมเป็นโสเภณีเกือบทั้งหมดแล้วทหารจริงที่มามีกี่คน มาไม่ถึงร้อยคน เพราะต้องลำเลียงปืนใหญ่และเกวียนขนผู้บาดเจ็บมีบางส่วนได้ลงที่เกาะมอลต้าเกือบร้อยคน “นโปเลียนเอ่ยขึ้น เกลแบร์บอกกับนโปเลียน “ไม่ใช่”

“หญิงที่มาคือทหารผ่านการฝึกเรียบร้อย สามารถป้องกันตนเองได้ “

ส่วนบักเคนได้ยินถึงกับตาค้าง” 

“โอพระเจ้ามันเป็นไปได้อย่างไร”

“คณะกรรมการดิเร็กตัวร์ มีมติเห็นว่า เรื่องความต้องการทางเพศเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ทุกคน ทหารจากบ้านมารบนาน ๆ การมาทำสงครามทหารอาจจะมีอารมณ์ อาจจะปล้นสะดมข่มขืนหญิงชาวบ้านจะทำให้ชาวบ้านโกรธแค้นที่ฝรั่งเศสเองก็มีหญิงหม้ายโสเภณีไม่มีลูกค้าจำนวนมาก คณะกรรมการเลยประกาศรับสมัครโสเภณีและทำการคัดเลือก ให้มาทำหน้าที่บริการแก่ทหารชาย โดยทางการจะจ่ายเงินล่วงหน้าเพื่อให้หญิงโสเภณีเหล่านั้นได้เงินมัดจำไปเลี้ยงครอบครัว และมาหารายได้ที่อียิปต์ กับทหารที่ต้องการใช้บริการ” เกลแบร์อธิบายและพูดต่อว่า  “เปิดรับสมัครวันแรกมีสมัครห้าพันคนเลยต้องคัดออกส่วนหนึ่ง”

“ท่านใช้เกณฑ์อะไรในการคัดออก” บักเคนชักสนใจเพราะตนเองเป็นเจ้าของบาร์ที่มาเซย์ ไม่นึกเลยว่าคณะกรรมการดิเร็กตัวร์จะเลียนแบบความคิดตนในการสร้างงาน จากอาชีพเก่าแก่ที่สุดในโลก

“มีคนมาสมัครจำนวนมากทางคณะกรรมการเลยปรึกษาหารือกันกับทางทหาร เลยตั้งเกณฑ์ ให้หญิงโสเภณีเหล่านี้ต้องฝึกทหาร 6 เดือนก่อนมาทำอาชีพบริการที่อียิปต์ โดยใช้วิธีจับฉลากคัดเลือก คนที่จะได้เดินทางมาทำงานเป็นโสเภณีจำนวน 500 คน แต่เราจะคัดไว้ 800 คน การฝึกทำให้หญิงโสเภณีเหล่านี้กลายเป็นนักรบ ทางคณะกรรมการก็นึกไม่ถึงว่า ไม่เพียงแต่ผู้ชายเป็นทหารได้ ผู้หญิงก็เข้มแข็งไม่แพ้ผู้ชาย หญิงโสเภณี 400 คนนี้คุณเคนอย่าดูถูกนะ เพราะผ่านการฝึกอย่างหนักในการใช้อาวุธจากจำนวน 800 คนทีผ่านเพียงห้าร้อยกว่าคน เป็นหน่วยรบที่เป็นไม้ตายของฝรั่งเศส แต่ก็ไม่บังคับให้บริการเป็นสิทธิของพวกเธอที่จะขายบริการหรือไม่ขายบริการ ถ้าพวกเธอออกรบก็ได้เงินเดือนเหมือนกับทหารชาย แต่พวกเธอดีหน่อยได้เงินมัดจำครึ่งปีเรียบร้อย สัญญาจ้าง 1 ปี ส่วนการพักพวกที่สมัครใจขายบริการก็ให้อยู่ในค่าย แยกเป็นสัดส่วน ไม่ให้ปะปนกันเพื่อความเป็นระเบียบ” เกลแบร์     อธิบายให้นโปเลียนกับบักเคนฟัง

“อาเป็นไอเดียบรรเจิด” นโปเลียนเริ่มได้คิดว่าถ้าเรารับสมัครทหารหญิงบ้างก็จะดีไม่น้อย ส่วนบักเคนถึงกับอึ้ง การเกณฑ์ทหารครั้งแรกของโลกเกิดขึ้นที่ฝรั่งเศส แต่ไม่ใช่เกณฑ์ทหารชายแต่เกณฑ์ทหารหญิงด้วยวิธีการจับฉลากเพื่อเป็นทหาร ช่างแตกต่างจากเมืองไทยนักเกณฑ์ทหารด้วยการจับฉลากเพื่อให้ได้เป็นทหารหลายคนไม่อยากเป็นทหาร ต้องไปบนบานเพื่อให้ตนเองไม่ถูกทหาร

You may also like...